|
|||||
ลักษณะงาน : โครงการออกแบบปรับปรุงเปลือกอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน ผู้ออกแบบปรับปรุงอาคาร : เอกลักษณ์ วงศ์พานิช (Architect) Nature & Trend co.,ltd |
|||||
อาคาร : โอเอสซี เจ้าของอาคาร : บริษัท โอเรียนตัลสยาม (1978) จำกัด ลักษณะอาคาร : อาคารสำนักงาน สูง 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย กว่า 10,000 ตรม.
แต่เดิมอาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็น อาคารสมัยใหม่ ทำให้มีกระจกเป็นส่วนประกอบหลักของอาคาร และเป็นด้านที่เป็นกระจกหลักนั้นได้รับแสงแดดโดยตรงเกือบตลอดวัน ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ทำให้มีปัญหาเรื่องความร้อนเข้ามาทางผนังกระจก จนทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่รู้สึกร้อน(ขนาดมีม่านอีกชั้น) และนั่นก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาคารนี้มีการสิ้นเปลืองพลังงาน อย่างมากจากเครื่องปรับอากาศ เจ้าของอาคาร ได้ให้ทาง Nature & Trend มาเป็นที่ปรึกษา ในออกแบบปรับปรุงตัวอาคาร เพื่อลดความร้อนที่เข้ามาภายในอาคาร และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศของอาคาร |
|
||||
Nature & Trend จึงได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้น ตลอดจนการวิเคราะห์แนวทางออกแบบแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าการลงทุน ที่สุดของอาคาร
ข้อมูลเบื้องต้นมีดังนี้
- จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น สามารถสรุปได้ว่า อาคารแห่งนี้เป็นอาคารสมัยใหม่ที่เน้นกระจก และทิศทางของด้านหลักของอาคาร ที่เป็นกระจกอยู่ในทิศที่โดยแดดตลอดวัน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) จึงไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทยที่ร้อน และมีแสงแดดเข้ามาทางทิศใต้เกือบตลอดปี ทำให้มีความร้อนเข้ามาภายในอาคารมาก(กว่า8ชม. ในช่วงเดือนธันวาคม) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภายในอาคารนี้ร้อนและสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากจากเครื่องปรับอากาศ
- แนวทางการออกแบบแก้ไขแบบง่ายๆและเหมาะสมลงตัวคือ คือการทำแผงบังแดดที่ต้องดูสวยงามและทันสมัยเข้ากับอาคาร ตลอดจนขนาดพื้นที่และการยื่นของแผงบังแดดนั้น ควรยื่นออกไปเท่าไหร่ถึงจะช่วยลดความร้อนให้แก่อาคารได้และคุ้มกับการลงทุน มากที่สุด เพราะวัสดุตัวนี้มีราคาต่อตารางเมตรสูง ดังนั้นข้อมูลต้องสำคัญเพื่อให้ได้ความคุ้มค่ามากที่สุด |
|||||
|
ภาพจำลองแสดงประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดด ในช่วงวันที่ 16ธันวาคา เวลา 13.30 น.หลังจากติดแผงกันแดด บนชั้น 3 และ 4เปรียบเทียบกับชั้น 5 และ 6 ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง
|
||||
ภาพจำลองแสดงประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดด ในช่วงวันที่ 16 เมษายน เวลา 14.30 น.หลังจากติดแผงกันแดด บนชั้น 3และ 4 เปรียบเทียบกับชั้น 5 และ 6 ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง
|
|
||||
Nature
& Trend ได้นำเสนอข้อมูล
พร้อม
shading
model เปรียบเทียบแสงเงาระหว่างติดตั้งแผงบังแดดและไม่ติดตั้ง
ซึ่งสามารถ วิเคราะห์สรุปข้อมูล และแนวทางการออกแบบก่อนปรังปรุงได้ดังนี้ |
|||||
1. แนวทางการออกแบบ
คำนึงถึงความง่ายและความสวยงาม โดยจากการวิเคราะห์ ข้อมูล สรุปให้ติดตั้งแผงบังแดดยื่นออกไป 2ม.จะมีความเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด และต้องออกแบบให้สวยงามลงตัวกับอาคาร แผงบังแดดชนิดนี้เป็นบานเกร็ดอลูมิเนียม (Ellipse Louver) ที่เป็นบานเกร็ดซ้อนกัน โปร่ง ไม่ทึบ แต่ทำให้เกิดเงาป้องกัน แสงแดดได้ 100% ซึ่งนอกจากจะทำให้ป้องกันแสงแดด โดยตรงที่มีความร้อนได้ 100% แต่ยังมีแสงสว่างที่เกิด จากการสะท้อน จากบานเกล็ด(ไม่มีความร้อน) เข้ามาภายในอาคาร จึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าไฟให้กับระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ในช่วงตอนกลางวัน อีกด้วย
2.ประสิทธิภาพการป้องการความร้อนเข้าอาคาร
- จากเดิมในช่วงเดือนธันวาคม ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดด ช่วงตั้งแต่เวลา 9.00 น. แต่หลังจากการติดตั้งแผงนี้จะเริ่ม โดนแดด(จากกระจกด้านล่าง) ตั้งแต่เวลา 13.00 น.ขึ้นไป |
|
||||
- ในช่วงเดือนเมษายน ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดดช่วงตั้งแต่เวลา 11.00 น. แต่หลังจากการติดตั้งจะทำให้โดนแดดหลังจากเวลา 15.00 น.
สรุปว่า จะสามารถป้องกันแสงแดดที่นำความร้อนเข้าอาคารจากผนังกระจกได้กว่า 50% ของเวลาใช้งานอาคาร และช่วงที่โดนแดดนั้นเป็นช่วงเย็นที่แสงแดดมีความร้อนที่ไม่มากนัก |
|||||
3. ความคุ้มทุน
ขอสรุปเพื่อความเช้าใจแบบง่ายๆ สำหรับทุกท่าน เดิมอาคารแห่งนี้ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน มีการเสียค่าไฟทั้งหมด ตกประมาณ 200,000 กว่าบาท/เดือน (คิด 4ชั้นที่ติดแผงบังแดด) ประมาณ 70% ของค่าไฟ มาจากระบบปรับอากาศ ซึ่งตกประมาณ 140,000 บาท หลังจากติดตั้งแผงบังแดดแล้ว จะทำให้มีค่า ottv (ค่าความร้อนเข้าสู่อาคาร) ลดลงเกินครึ่ง ทำให้มีโหลดการทำงานและค่าไฟฟ้าจากการ ใช้เครื่องปรับอากาศลดลงอย่างน้อยประมาณ 20 - 30 % (28,000-40,000 บาท) ซึ่งจะทำให้คุ้มกับการลงทุนภายในระยะเวลา 5 - 6 ปี
|
![]() |
||||
|
บทสัมภาษณ์ คุณ ประสิทธิ์ ภวัครานนท์ ( Director International Marketing Dept.) บริษัท โอเรียนตัลสยาม(1978) จำกัด (เจ้าของอาคาร)
“อย่างแรกที่เห็น คือบอกได้เลยว่าอาคาร ของเราดูสวยขึ้น และเมื่ออยู่ในอาคาร ตอนกลางวันรู้สึกได้เลยว่าความร้อนที่ เข้ามาในอาคารหายไป เพราะเมื่อก่อน เวลาเดินผ่านจะรู้สึกได้เลยว่ามีความร้อน เข้ามาทางด้านที่เป็นกระจก แต่หลังจาก ติดตั้งก็ไม่รู้สึกแล้ว... คิดว่าคุ้มค่ามากๆ เพราะนอกจากทำให้อาคารดูสวยขึ้น ยังจะสามารถลดค่าไฟของเรา ลงไปได้เยอะเลยทีเดียว”
|